ศิลปินช่างสัก

เล็ก นิวยอร์ก

lek

เล็ก นิวยอร์ก ได้รับแรงบันดาลใจในการสักจากวัยเด็ก จากการได้เห็นลายสักของลุงคนหนึ่ง?ซึ่งสักเป็นรูปผีเสื้อที่มีลายเส้นสีดำและมีสีแดงบนตัวผีเสื้อ ซึ่งการสักในยุคสมัยนั้นจะเป็นการสักยันต์เป็นส่วนใหญ่ พอเข้าสู่วัยรุ่น เริ่มสนใจการสักยันต์ด้วยความเชื่อทางไสยศาสตร์ ได้ไปสักยันต์กับพระอาจารย์ที่วัดอนงค์ และวัดรวก ซึ่งเป็นการสักน้ำมัน ไม่มีสี

ช่วงวัยเด็กเป็นคนชอบเขียนรูป และได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนไทยวิจิตรศิลป์ ?(หลังจากพยายามสอบเข้าโรงเรียนช่างศิลป์ถึง 2ครั้ง) ศึกษาอยู่เกือบปี แล้วลาออกด้วยเหตุผลเพียงเพราะเบื่อการเรียนวิชาสามัญ

ในปี ค.ศ.1988 ได้เดินทางไปศึกษาต่อในสหรัฐอเมริกา วันหนึ่งได้ชมรายการทีวีเกี่ยวกับลายสักของยากูซ่าของญี่ปุ่น ซึ่งมีความงามเป็นชิ้นใหญ่เป็นเรื่องราวต่างจากการสักของชาวอเมริกาที่ส่วนใหญ่เป็นงานชิ้นเล็กๆ หลังจากได้ชมรายการ TV. นี้แล้วก็เริ่มเขียนลายเพื่อจะไปสักตรงต้นแขนในลักษณะของงานญี่ปุ่น โดยเขียนลายเป็นตัวมังกร เมื่อไปถึงร้านสักก็ได้นำแบบออกมาให้ช่างสักดู ช่างสักก็บอกว่า

งานลักษณะนี้เป็นงาน Custom คิดราคาเป็นเวลา 1 ชั่วโมง $75/ชม. (ค.ศ.1988) อาจต้องใช้เวลาประมาณ 10 ชม. คิดแล้วเป็นเงินราว $750 ซึ่งในขณะนั้นผมมีเงินไม่มากพอ ช่างสักคนนั้นก็แนะนำให้เลือกแบบ (Flash) ต่างๆ ซึ่งติดอยู่บนกำแพงราคาตามชิ้นงาน วันนั้นผมตัดสินใจเลือกรูปปลาสักตรงต้นแขนซ้าย หลังจากสักเสร็จ กลับถึงบ้านเมื่อดูแล้วผมค่อนข้างผิดหวัง ที่ไม่ได้สักลายมังกรที่ผมได้ออกแบบไป และผมเชื่อมั่นว่าตัวผมเองสามารถที่จะสักได้ดีกว่านี้ ตั้งแต่นั้นมาผมพยายามหา?สถานที่สอนการสัก แต่ต้องผิดหวังเพราะงานสักในอเมริกาเป็นลักษณะ Family Business ซึ่งจะสอนแต่สมาชิกในครอบครัวหรือคนสนิทจริงๆ ในเวลาไม่นาน ผมได้พบชาวอเมริกันบริเวณบ้านคนหนึ่งถอดเสื้อและมีลายสักสักเป็นรูปคลื่นญี่ปุ่น ผมจึงเข้าไปคุยกันอย่างถูกคอเพราะชอบลายสักญี่ปุ่นเหมือนกัน?เขาให้ผมยืมหนังสือ Tattoo Time ซึ่งเขียนโดย Ed Hardy หลังจากอ่านจนจบ ผมบอก Roman?เพื่อนชาวอเมริกัน ว่าผมอยากเป็นลองสัก สิ่งที่ Roman ตอบมาคือ (It?s not easy) มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ?คำพูดประโยคนี้ผมรู้สึกว่ามันเหมือนเป็นคำดูถูก ซึ่งจริงๆแล้วเขาไม่ได้ตั้งใจเช่นนั้น ผมคบกับ Roman พูดคุยกันในเรื่องสักตลอดเวลา

ผมได้มีโอกาสอ่านเรื่องราวของช่างสักชาวญี่ปุ่นคนหนึ่ง ?ซึ่งใช้เวลาถึง 5 ปีในการรับใช้อาจารย์ของเขา?จนในปีที่ 6 เขาถึงได้เริ่มมีโอกาสสัก โดยหัดกับหัวไชเท้า จนมั่นใจแล้วจึงสักลายบนขาของตัวเอง ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ผมเป็นอย่างมาก

จนในปี 1991 ผมได้ตัดสินใจค้นคว้าเรื่องการสักด้วยตนเอง แล้วตัดสินใจซื้อเครื่องมือสักครบชุดเพื่อทำการสักโดยใช้ผลส้มเป็นสิ่งทดลองเพื่อฝึกการใช้เครื่องมือจนมั่นใจ หลังจากนั้นอีก 1 เดือน?ผมเริ่มหัดสักลวดลายบนต้นขาขวาของตนเองเป็นรูปปลาคร๊าฟ พอเริ่มสักโดยการเดินเส้นจากหางปลาความยาวประมาณ 2 นิ้ว ผมรู้สึกว่ามันไม่เข้าท่าเลย เส้นไม่มีความคม และก็เจ็บมาก ผมจึงหยุดการสักไว้เพียงเท่านั้น แล้วก็ปิดแผล

แต่หลังจากที่ Poo ภรรยาของผมกลับมาจากที่ทำงาน ผมได้เล่าเรื่องการสักขาของผมให้ฟังน้องปูขอดูแล้วบอกว่าสักครั้งแรกได้ขนาดนี้ก็ดีแล้ว ทำไมไม่ทำต่อให้เสร็จ คำพูดนี้เองที่ทำให้ผมหันกลับมาทำใหม่จนเสร็จ ซึ่งใช้เวลานานพอสมควร โดยผมจะสักประมาณวันละ 2-3 ชม. เป็นเวลากว่า 3 อาทิตย์จึงแล้วเสร็จ ในระหว่างที่ผมทำการสักตัวเองซึ่งลองผิดลองถูกอยู่นาน ในช่วงหน้าร้อนผมชอบไปเดินดูของเก่า วันนั้นผมใส่กางเกงขาสั้น และลายสักโผล่ออกมาเล็กน้อย คนขายของรูปร่างอ้วนขอชมลายสักของผม ผมบอกว่าผมสักเอง เขาก็โชว์ลายสักของเขาชิ้นหนึ่งซึ่งสักโดย Ed Hardy และตัวเขาเองก็เป็นช่างสักมาก่อนเขาได้กรุณาแนะนำการใช้เครื่องมือ และวิธีสักให้ หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีเพื่อนสนิทคนไทย

ด้วยกันที่มาหาที่บ้านบ่อยๆเห็นเข้า ก็เลยให้ผมสักให้บ้าง พอผมสักเสร็จเขาก็พาเพื่อนมาให้สักและเพื่อนที่ทำงานชาวอิตาลีก็มาให้สัก และก็บอกต่อกันไป ในช่วง 2 ปีแรกของการสัก ผมไม่เคยคิดเงินใครเลยแต่เพื่อนๆ เหล่านี้ก็มีน้ำใจพาไปเลี้ยงข้าว ความสัมพันธ์ก็แนบแน่นขึ้น จนเพื่อนคนหนึ่งแนะนำให้ผมทำเป็นอาชีพ ผมทำได้อยู่ประมาณ 2 ปี ผมก็ตัดสินใจย้ายมาประเทศไทยในปลายปี 2539 แล้วเปิด?SAK-LAI TATTOO STUDIO บนชั้น 2 ของโรงภาพยนตร์ลิโด ในวันที่ 20 มี.ค. 2540


ปู

poo

เดินทางไปศึกษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่อายุ 15 ปี ในปี พ.ศ. 2525 จบการศึกษาระดับ?High School จากโรงเรียน Memmorial ที่เมือง Houston?Texas แล้วเข้าศึกษาต่อใน?UNIVERCITY Of Houston หลังจากนั้นได้ย้ายไปอยู่นิวยอร์ค และเข้าศึกษาต่อที่ F.I.T.?สาขา Interior

สนใจงานสักหลังจากที่ Leck N.Y. สักได้ประมาณ 1 ปี จากการที่ได้คลุกคลีอยู่ จึงเริ่มฝึกหัดเทคนิคใน พ.ศ. 2534 โดย เล็ก นิวยอร์คเป็นผู้แนะนำให้ในการใช้เครื่องมือ ประมาณปี พ.ศ. 2536?ปูได้หยุดทำงาน Tattoo ชั่วคราว เนื่องจากต้องดูแลลูกสาวที่เกิด จนในปี พ.ศ. 2539 ได้ย้ายกลับประเทศไทย แล้วมาทำ Tattoo อย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุปัน